ส.อ.ท.ยังคาใจ “ค่าไฟ” งวด ม.ค.-ส.ค.2566 4.77 บาททุกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.

เศรษฐกิจ ตั้งคำถามส่งถึงรัฐบาลถึงการบริหารจัดการไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนทุกคน ตลอดจนถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่กำลังเร่งฟื้นฟูในช่วงภาวะเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว และแข่งขันรุนแรงในระดับประเทศจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กพพ.) ได้ประกาศค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.นี้ ที่ 4.77 บาททุกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า

เศรษฐกิจ ค่าไฟ

ดังนี้ 1 สมมติฐานการคำนวณค่าไฟฟ้าที่ไม่ตอบโจทย์ 1.1 ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.นี้ ที่เลือกใช้สมมติฐานช่วง ที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูงสุด (พีค) ในช่วงที่ต้นทุนพลังงานโลก และค่าเงินบาทผันผวน ผลที่ได้รับก็คือ ภาคธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้น 13% คือจาก 4.72 เป็น 5.33 บาท/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าในงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. กลับพบว่า เป็นช่วงที่ราคาต้นทุนพลังงานของโลกต่ำลง รวมค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากการชะลอขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ภาครัฐกลับเลือกใช้สมมติฐานตัวเลขของเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ที่ไม่เป็นตัวเลขที่ทันต่อสถานการณ์ราคาต้นทุนรวมลดลง .การเร่งรัดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดๆ ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาลชุดนี้ อาทิ โครงการไฟฟ้าสีเขียวรวม 5,203 เมกะวัตต์ และอนุมัติให้รับซื้อเพิ่มอีก 3,668 เมกะวัตต์ แบบเร่งรีบ ทั้งๆที่กำลังมีเอกชนหลายรายยื่นฟ้องขอการคุ้มครองจากศาลปกครอง, โครงการไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีการผลิตของโรงไฟฟ้าในประเทศ มากกว่าความต้องการกว่า 50%

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เปิดเส้นทาง ‘ไฮสปีดเทรน’ ภาคเหนือ ลุ้นรัฐบาลใหม่เคาะตอกเสาเข็ม

เปิดเส้นทาง ‘ไฮสปีดเทรน’ ภาคเหนือ ลุ้นรัฐบาลใหม่เคาะตอกเสาเข็ม

“กรมการขนส่งทางราง” เคาะแผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ช่วงกรุงเทพฯ – พิษณุโลก หลังหารือร่วมญี่ปุ่นชี้คุ้มค่าลงทุนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง 17.3% เตรียมชง ครม.ชุดใหม่ดันตอกเสาเข็ม

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยถึงแผนผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือด้านคมนาคมไทยและญี่ปุ่น โดยระบุว่า โครงการดังกล่าวทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation : MOC) ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมาผู้แทนทั้งสองประเทศได้หารือความคืบหน้าผลการศึกษาร่วมกัน

โดยขณะนี้ผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ฉบับสมบูรณ์ ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม พบว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – พิษณุโลก มีความคุ้มค่าทางการลงทุน โดยมีผลการศึกษาชี้ชัด อาทิ

เศรษฐกิจ

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 17.3 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 12
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นบวกตลอดระยะเวลาดำเนินการ

อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการลงทุนโครงการเกิดความคุ้มค่าในด้านเศรษฐศาสตร์ โดยเบื้องต้นจากการหารือระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ตกลงร่วมกันในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะแรกในเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ในอนาคต

ทั้งนี้กรมการขนส่งทางรางจะนำเสนอผลการศึกษาทั้งหมดให้กับรัฐบาลเพื่อผลักดันการดำเนินการ โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ และแน่นอนว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ถือเป็นโครงการสำคัญที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศไทย

ขณะที่แผนพัฒนาไฮสปีดเทรนของกระทรวงคมนาคม กำหนดไว้ว่าขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม 6 โครงการ ระยะทางรวม 1,993 กิโลเมตร แบ่งเป็น

1.เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก

  • ระยะทาง 380 กิโลเมตร
  • วงเงินลงทุนประมาณ 2.12 แสนล้านบาท
  • สถานะปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการลงทุน

2.เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย

  • ระยะทาง 355 กิโลเมตร
  • วงเงินลงทุนประมาณ 2.26 แสนล้านบาท
  • สถานะปัจจุบัน ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA

3. เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน

  • ระยะทาง 211 กิโลเมตร
  • วงเงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท
  • สถานะปัจจุบัน เตรียมของบประมาณปี 2567 เพื่อทบทวนผลการศึกษาเดิม

4.เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่

  • ระยะทาง 288 กิโลเมตร
  • วงเงินลงทุนประมาณ 2.32 แสนล้านบาท
  • สถานะปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการลงทุน

5.เส้นทางหัวหิน-สุราษฎร์ธานี

  • ระยะทาง 424 กิโลเมตร
  • สถานะปัจจุบัน ของบประมาณปี 2567 เพื่อทบทวนการศึกษาความเหมาะสม

6.เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์

  • ระยะทาง 335 กิโลเมตร
  • สถานะปัจจุบัน ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นแล้ว

ตรวจเข้มรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน สกัดลักลอบขนย้ายน้ำมันปาล์ม

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้สั่งการเจ้าหน้าที่สายตรวจเฉพาะกิจกรมการค้าภายในสนธิกำลังร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด

และสำนักงานชั่งตวงวัด ดำเนินการตรวจสอบการรับซื้อผลปาล์มน้ำมันและการลักลอบขนย้ายน้ำมันปาล์มอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่แหล่งเพาะปลูก เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร รักษาเสถียรภาพตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศให้เป็นธรรม และยกระดับรายได้ให้เกษตรกร โดยผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 3-6 ม.ค.66 ที่ จ.กระบี่ ซึ่งสุ่มตรวจสอบโรงสกัดน้ำมันปาล์มที่ได้รับรายงานว่ารับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรในราคาต่ำนั้น พบผู้กระทำความผิด 1 ราย ไม่ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อที่จุดรับซื้อ จึงได้จับกุมและเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 3,000 บาท

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 8 ม.ค.66 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพรสนธิกำลัง กอ.รมน. จ.ชุมพร และตำรวจทางหลวงร่วมกันจับกุมผู้ลักลอบขนย้ายน้ำมันปาล์มโดยไม่ได้รับอนุญาตการขนย้าย 2 ราย พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้นำผู้กระทำผิด และยานพาหนะ พร้อมของกลาง ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ท่าแซะ และ สภ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และขอย้ำให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่เอาเปรียบเกษตรกร หากพบว่ามีการกดราคารับซื้อ ต้องระวางโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เศรษฐกิจ-ตรวจเข้มรับซื้อผลปาล์มน้ำมัน-สกัดลักลอบขนย้ายน้ำมันปาล์ม

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ตอบทุกข้อสงสัย ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565

ตอบทุกข้อสงสัย ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565

โฆษกกระทรวงการคลังเปิดตัวเลขผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กว่า 6.65 ล้านราย แจงคนในครอบครัวเดียวกันหากตรวจสอบข้อมูลผ่านเกณฑ์ได้รับสิทธิทุกคน ย้ำตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนบันทึกเพราะแก้ไขไม่ได้

ความคืบหน้าการเปิดรับลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ก.ย. 2565 เวลา 12.00 น. ประชาชนลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 6,657,136 ราย เป็นการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ 5,097,333 ราย และลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียน 1,559,803 ราย

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ 2 ช่องทาง คือ

ช่องทางแรก ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน

ช่องทางที่สอง ลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา เมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน ได้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. จนถึงวันที่ 19 ต.ค. 2565

โฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจง ประเด็นที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และความไม่ชัดเจนในการลงทะเบียน ดังนี้

1. ประชาชนที่สนใจและมีคุณสมบัติตามที่โครงการฯ กำหนด สามารถลงทะเบียนได้ทุกคน แม้จะอยู่ในครอบครัวเดียวกัน เช่น สามี/ภรรยา ที่เป็นคู่สมรสกัน สามารถลงทะเบียนได้ทั้งสามีและภรรยา หากตรวจสอบแล้วผ่านเกณฑ์คุณสมบัติก็มีสิทธิที่จะเป็นผู้ได้รับสิทธิทั้งสามีและภรรยา “ไม่ใช่หนึ่งครอบครัวหนึ่งสิทธิ”

2. ในการลงทะเบียนหากมีการบันทึกข้อมูลในระบบแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้อีก ดังนั้น ผู้ลงทะเบียนจะต้องตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลที่กรอกในแบบฟอร์มลงทะเบียนให้ถูกต้อง ก่อนบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์หรือก่อนที่จะบันทึกข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียน โดยกรณีการกรอกข้อมูลผิดพลาด ผู้ลงทะเบียนสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

2.1 ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์และกรอกข้อมูลส่วนตัวไม่ถูกต้อง (5 ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด และเลขรหัสหลังบัตรประจำตัวประชาชน) จะต้อง “เริ่มลงทะเบียนใหม่”

2.2 กรอกข้อมูลความสัมพันธ์ในครอบครัวผิด (เช่น ข้อมูลกรมการปกครองมีบุตร แต่ผู้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลว่าไม่มีบุตร) จะต้องรอผลการลงทะเบียนที่จะประกาศทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดไปเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 และหลังจากทราบผลแล้วให้ไปแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ผู้ลงทะเบียนได้ยื่นเอกสารลงทะเบียนไว้

3. กรณีลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ เมื่อบันทึกข้อมูลแล้ว ผู้ลงทะเบียนจะต้องตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์หรือขอให้หน่วยงานรับลงทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และวันเดือนปีเกิด

3.1 กรณีที่ข้อมูลตามบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียนถูกต้อง

ผู้ลงทะเบียน “ไม่มีครอบครัว” ระบบจะขึ้นข้อความว่า “กระทรวงการคลังได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านครบถ้วนแล้ว” จึงถือว่าจบขั้นตอนการลงทะเบียน และรอประกาศผลการตรวจสอบการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครองทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดไป โดยเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565

ผู้ลงทะเบียน “มีครอบครัว” ต้องพิมพ์แบบฟอร์มลงทะเบียนที่กรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการลงลายมือชื่อของผู้ลงทะเบียน คู่สมรส และ/หรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และนำแบบฟอร์มลงทะเบียนพร้อมทั้งเอกสารประกอบไปยื่นที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ตนได้เลือกไว้ให้แล้วเสร็จภายในวันสุดท้ายที่รับลงทะเบียน โดยหลังจากยื่นเอกสารที่หน่วยงานรับลงทะเบียนแล้ว ผู้ลงทะเบียนจะได้รับส่วนที่ 11 ของแบบฟอร์มลงทะเบียนเป็นหลักฐานยืนยันการลงทะเบียนจึงถือว่าจบขั้นตอนการลงทะเบียน ซึ่งผู้ลงทะเบียนจะต้องเก็บรักษาหลักฐานดังกล่าวไว้โดย “ห้ามทำหาย” และแนะนำให้ผู้ลงทะเบียนทำสำเนาหรือถ่ายรูปส่วนที่ 11 ดังกล่าวไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการลงทะเบียน และรอประกาศผลการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครองทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดไป โดยเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 256

3.2 กรณีที่ข้อมูลตามบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียนไม่ถูกต้อง ผู้ลงทะเบียนจะต้องดำเนินการ “เริ่มลงทะเบียนใหม่” โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์ หรือลงทะเบียน ณ หน่วยงานรับลงทะเบียน

4. กรณีลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยทั้งลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์หรือลงทะเบียน ณ หน่วยงานรับลงทะเบียน ผู้ลงทะเบียนจะต้องตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดไปผ่านเว็บไซต์หรือขอให้หน่วยงานรับลงทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ โดยกรอกหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และวันเดือนปีเกิด โดยเริ่มตรวจสอบได้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 ก.ย. 65 ทั้งนี้ หากพบว่า

4.1 สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์ : ให้ผู้ลงทะเบียนรอผลการตรวจสอบคุณสมบัติต่อไป โดยจะประกาศผลในช่วงเดือนมกราคม 2566

4.2 สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ : เนื่องจากข้อมูลของผู้ลงทะเบียนไม่ตรงตามฐานข้อมูลกรมการปกครอง

กรณีผู้ลงทะเบียนที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โดยระบุว่า “ไม่มีครอบครัว (โสด)” แต่เมื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลกับกรมการปกครองแล้วพบว่า “มีครอบครัว” จะต้องไปแจ้งแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียนใดก็ได้ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ลงทะเบียน และเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมแล้วแต่กรณี เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส เป็นต้น
กรณีผู้ลงทะเบียนลงทะเบียนที่หน่วยงานรับลงทะเบียนจะต้องแก้ไขข้อมูล ณ หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ผู้ลงทะเบียนได้ยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนไว้เท่านั้น

โฆษกกระทรวงการคลัง เน้นย้ำว่า ประชาชนที่สนใจและมีคุณสมบัติตามที่โครงการฯ กำหนดสามารถลงทะเบียนได้ทุกคน ผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันก็สามารถลงทะเบียนได้ทุกคน โดยขอให้ผู้ลงทะเบียนตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนทุกครั้ง และเก็บรักษาส่วนที่ 11 ของแบบฟอร์มลงทะเบียนเป็นหลักฐานยืนยัน

ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนจะสามารถทราบผลการแก้ไขข้อมูลได้ในรอบการประกาศผลของโครงการฯ ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดไป

เศรษฐกิจ 12 9 2022