แพทย์ชงให้ยาลูกเมื่อมีอาการ

รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า เมื่อลูกเจ็บป่วย

พ่อแม่มักให้ลูกรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรีย ซึ่งถือเป็นการใช้ยาไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากร่างกายมนุษย์จะมีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ตามระบบอวัยวะต่างๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะปล่อยให้เชื้อแบคทีเรียอื่นเข้ามาแย่งพื้นที่ ดังนั้นการป่วยส่วนใหญ่จึงเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้ามาก่อกวนระบบนิเวศของแบคทีเรียในร่างกาย จึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนภายหลัง

แพทย์ชงให้ยาลูกเมื่อมีอาการ

ดังนั้นช่วง 2-3 วันแรกที่ลูกป่วยอยากให้พ่อแม่ให้ยารักษาตามอาการก่อน แต่หากลูกเริ่มมีอาการซึม มีอาการมากขึ้นขอให้พาไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้การให้ยารักษาลูกตามอาการ ผู้ปกครองมักรู้สึกว่าไม่ค่อยได้ผล ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นการให้ยาที่ผิด เนื่องจากยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ลดน้ำมูก แก้หอบ จะออกฤทธิ์และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องให้ยาตอนที่มีอาการ หากยาตัวใดไม่มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร ก็ให้กินยาขณะที่มีอาการและกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ให้ยาตามเวลา เช้า กลางวัน เย็น

อ่านข่าวเพิ่มเติม : วิธีทำความสะอาดสะดือเด็ก สะดือทารกทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกวิธี

วีธีทำความสะอาดสะดือเด็ก สะดือทารกทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกวิธี

วีธีทำความสะอาดสะดือเด็ก สะดือทารกทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกวิธี

นอกจากการอาบน้ำ ตัดเล็บ แคะหูให้ลูกแล้ว ยังมีอีกด่านนึงที่คุณพ่อคุณแม่ละเลยไม่ได้นั่นก็คือสะดือของลูกน้อยนั่นเองค่ะ เนื่องด้วยสะดือของทารกแรกเกิดหรือของเด็กนั้นมีความบอบบาง หากดูแลไม่ดีอาจเสี่ยงติดเชื้อได้ค่ะ แล้วการวีธีทำความสะอาดสะดือเด็กนั้นควรทำอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง และสะดือนั้นมีความสำคัญอย่างไรมาดูกันค่ะ

เด็ก

วีธีทำความสะอาดสะดือเด็ก สะดือทารกทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกวิธี

สะดือคืออะไร มีไว้ทำไม

สะดือเป็นอวัยวะที่เฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนม  ความสำคัญของสะดือนั้นมีเพื่อส่งสารอาหาร และออกซิเจนจากแม่ให้ลูกผ่านสายสะดือที่ประกอบด้วยเส้นเลือดดำ 1 เส้น และเส้นเลือดแดง 2 เส้น  โดยที่เส้นเลือดแดงนี้จะทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย การทำงานของสายสะดือระหว่างแม่และลูกจะสิ้นสุดในตอนที่แพทย์ทำการตัดหลังจากการทำคลอด

ลักษณะสะดือของเด็กแรกเกิด

สายสะดือของเด็กแรกคลอดนั้นจะถูกตัดเหลือเป็นตอสั้นๆ เพียง 2-3 cm ประมาณ 1 สัปดาห์ตอของสะดือจะค่อยๆ แห้งและหลุดออกไปเองค่ะ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่การทำความสะอาดสะดือมาดูวิธีการดูแลตอสะดือลูกกันค่ะ

วิธีดูแลตอสะดือ

  1. เสื้อผ้าที่ลูกใส่ควรถ่ายเทอากาศได้ดีและมีความหลวม ถ้าใส่ผ้าอ้อมควรให้ขอบผ้าอ้อมอยู่ต่ำกว่าสะดือ
  2. ก่อนและหลังการดูแลลูกควรล้างมือให้สะอาด จับตอสะดือขึ้น แล้วใช้คอตตอนบัดชุบแอลกอฮอล์เช็ดซอกโคนสะดือโดยเช็ดไปทางเดียวไม่หมุนย้อนไปมา
  3. ห้ามปิดตอสะดือด้วยผ้ากอซหรือสำลี ควรปล่อยให้ตอสะดือแห้งและหลุดเอง
  4. ควรดูแลให้ตอสะดือแห้งอยู่เสมอระมัดระวังอย่าให้สิ่งสกปรกมาโดนตอสะดือ

วิธีทำความสะอาดสะดือลูก หลังตอสะดือหลุด

หลังจากอาบน้ำเช็ดตัวให้แห้ง ใช้สำลีก้อนซับเบาๆ ให้แห้งห้ามใช้คอตตอนบัดชุบแอลกอฮอล์เช็ดในรูสะดือเด็ดขาด และคอยหมั่นสังเกตหากลูกมีอาการปวดท้องหรือมีอาการบวมคันที่สะดือให้รีบพาไปพบแพทย์ค่ะ

สิ่งที่ห้ามทำกับสะดือลูก

  • ห้ามโรยแป้งที่สะดือเด็กเพราะผงแป้งจะไปจับตัวกับความชื้นทำให้สะดือแห้งช้าจะอาจเกิดอาการอักเสบได้
  • ห้ามทาโลชั่น หรือเบบี้ออลย์ หรือมหาหิงค์ เพราะจะเป็นการสร้างความชื้นที่สะดือให้ลูก
  • ห้ามเป่าสะดือลูกเพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียในน้ำลายที่อาจทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อได้