เปิดผลสอบเปลี่ยนป้าย 33 ล้าน “สถานีกลางบางซื่อ”

เปิดผลสอบเปลี่ยนป้าย 33 ล้าน “สถานีกลางบางซื่อ” โยนบอร์ด รฟท.ตัดสินปมจ้างเฉพาะเจาะจง แนะใช้ของเก่าช่วยลดงบ

เปิดผลสอบฯ เปลี่ยนป้าย “สถานีกลางบางซื่อ” 33 ล้านบาท พบเทคนิค วัสดุ เป็นไปตามมาตรฐาน ติงวิธีเฉพาะเจาะจง ส่อไม่เข้าเกณฑ์ พ.ร.บ.จัดซื้อฯ ปี 60 เหตุไม่ใช่งานที่มีผู้ผลิตได้รายเดียว โยนบอร์ด รฟท.เร่งทบทวน แนะใช้ของเดิมบางส่วนช่วยลดงบ

ออกแบบ

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ โครงการปรับปรุงป้ายสถานีกลางบางซื่อ วงเงิน 33 ล้านบาท คณะกรรมการตรวจสอบฯ ซึ่งมีผู้แทนภายนอก ทั้งสภาวิศวกร สภาสถาปนิก และนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เข้าร่วม

โดยคณะกรรมการฯ ได้ประชุมทั้งสิ้น 3 ครั้ง (วันที่ 10 ม.ค. วันที่ 11 ม.ค. วันที่ 18 ม.ค.) ตรวจสอบใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ความเหมาะสมของขอบเขตงานและราคากลาง 2. ความถูกต้องของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง พร้อมทั้งได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งเอกสารชี้แจงรวม 11 ข้อ เพื่อประกอบการตรวจสอบฯ

ซึ่งในประเด็นความเหมาะสมของขอบเขตงานและราคากลาง คณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้พิจารณาเอกสารหลักฐาน ตลอดจนการชี้แจงของ รฟท.ได้ว่าการกำหนดขอบเขตงาน ซึ่ง รฟท.อ้างอิงแบบโครงสร้าง รายละเอียด เทคนิควิธีการ และวัสดุจากงานที่กำหนดไว้เดิม ไม่พบการดำเนินการที่เชื่อได้ว่า รฟท.ดำเนินการ นอกเหนือจากขอบเขตงานแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นไปตามรายละเอียดของงานติดตั้งป้ายเดิมที่ รฟท.ได้รายงานว่ามีการตรวจสอบและรับรองทางวิศวกรรม รวมทั้งมีการติดตั้งไปแล้ว ซึ่งปรากฏว่ามีความปลอดภัยและแข็งแรงตามมาตรฐาน ดังนั้น การกำหนดขอบเขตการดำเนินการ และการกำหนดราคากลางของ รฟท.ของการดำเนินโครงการครั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบได้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> โคมไฟใยกล้วย! สวย สว่าง จากวัสดุธรรมชาติ

โคมไฟใยกล้วย! สวย สว่าง จากวัสดุธรรมชาติ

กระแสการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนถือว่ามาแรงมาก ล่าสุดมีแบรนด์ออกไอเดียเก๋ ใช้ไฟเบอร์จากกล้วยมาทำเป็นโคมไฟ!

โคมไฟไอเดียดีที่ว่าคือ “Nuclée” ผลงานจากคู่หูนักออกแบบชาวฝรั่งเศส Cordélia Faure & Dorian Etienne จาก ENSCI Les Ateliers ซึ่งได้นำเนื้อกล้วยเหลือทิ้งมาพัฒนาเป็นโคมไฟ โดยกว่าจะออกมาเป็นโปรดักส์ตัวนี้ได้พวกเขาใช้เวลาพัฒนากว่า 6 เดือนที่สถาบันวิจัยหัตถกรรมแห่งชาติไต้หวัน ( National Taiwan Craft Research Institute (N.T.C.R.I.) เลยทีเดียว

ในที่สุดก็ได้ผลงานเป็นโคมไฟแบบมินิมอลที่มีโครงสร้างรูปวงกลมไม้ไผ่ล้อมรอบใยกล้วย ซึ่งพวกเขาได้ทำการวิจัยและทดลองจนสามารถรักษาเสถียรภาพของเนื้อเยื่อพืชโดยใช้เทคนิคการกลั่นแบบเฉพาะ และการใช้ความร้อนและความดันที่เหมาะสม จากนั้นจึงขึ้นรูปด้วยไม้ไผ่ดัดงอที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงสร้างภายในของก้านกล้วยนั่นเอง

ออกแบบ 12 9 65

นอกจากนี้พวกเขายังได้ใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากับชนพื้นเมืองในใต้หวัน “Kavalan” เกี่ยวกับวิธีการใช้ไฟเบอร์จากกล้วย นอกจากนี้พวกเขายังได้ทดสอบปฏิกิริยาของวัสดุที่ใช้ต่อความร้อน, ความเย็น, ความชื้น, ความดัน, และการใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้จริงในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ด้วยความพิถีพิถันนี้เอง Nuclée จึงเป็นผู้ชนะโครงการ Best of Year” Grand Prize (New York, 2020) และ Green Product Award อีกด้วย ก็นับว่าเป็นอีกไอเดียการออกแบบที่นอกจากจะผสานความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนแล้ว ยังไม่ลืมที่จะเริ่มหันมามองวัสดุธรรมชาติให้มากขึ้น ติดตามข่าวสารการออกแบบได้ที่ hownowbaccarat