ค้าปลีก จี้รัฐเร่งอัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายปลุกบริโภค

ค้าปลีก จี้รัฐเร่งอัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายปลุกบริโภค

ธุรกิจในช่วงโค้งสุดท้าย หรือ ไฮซีซันของปี แม้โดยภาพรวมบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยกระเตื้องขึ้นแต่ยังคงไม่สดใสมากนัก จากปัจจัยลบในตลาดโดยเฉพาะค่าครองชีพที่สูงขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแรงกดดัน “ต้นทุนสินค้า” ที่ปรับขึ้นจากค่าพลังงาน

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่น (Retail Sentiment Index : RSI) ของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือนตุลาคม 2565 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนตุลาคมขยับเพิ่มขึ้นเพียง 1.3 จุด เมื่อเทียบกับดัชนีเดือนกันยายน โดยได้รับปัจจัยหนุนชั่วคราวจากจำนวนวันหยุดยาวสองช่วง มาช่วยชดเชยกำลังซื้อที่อ่อนแออย่างไรก็ตาม สถานการณ์อุทกภัยหลายพื้นที่ รวมถึงต้นทุนค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูง ค่าสาธารณูปโภค และการประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำ ยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีก

โดยคาดว่าดัชนี RSI ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรับเพิ่มขึ้นตามการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และเทศกาลปีใหม่ รวมถึงมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินของภาครัฐในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ดัชนี RSI เดือนตุลาคมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนชั่วคราวจากจำนวนวันหยุดยาวที่มีมากกว่าเดือนกันยายน โดยมีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยของยอดใช้จ่าย ต่อครั้ง (Spending per Bill) ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) และความถี่ของผู้ใช้บริการ (Frequency)

ข่าวธุรกิจวันนี้

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาการบริโภคตามประเภทร้านค้า พบว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบห้างสรรพสินค้า, ร้านไฮเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหาร ปรับเพิ่มขึ้น จากการแข่งขันด้านกลยุทธ์และราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเดือนที่มีวันหยุดยาว สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของกำลังซื้อระดับบน

ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการร้านซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ปรับลดลง ตามสถานการณ์ฝนตกชุกและอุทกภัยในบางพื้นที่ บ่งบอกถึงผู้บริโภคกำลังซื้อระดับฐานรากในต่างจังหวัดยังอ่อนแอ

นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบอีกว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ปี 2563-2564) ธุรกิจ 61% ต้องลดระดับการจ้างงานลง สะท้อนถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรุนแรงในขณะที่หลังการผ่อนคลายความเข้มงวด ในปี 2565 ธุรกิจกว่า 48.8% ยังไม่ฟื้นตัว ยังมีการจ้างงานในระดับต่ำกว่าเดิม 10-20% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด ภาครัฐควรต้องใส่มาตรการต่างๆ ทั้งการกระตุ้นการจับจ่ายและส่งเสริมธุรกิจให้ฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อเร่งกลไกเศรษฐกิจทั้งระบบให้พลิกฟื้นโดยเร็วอย่างตรงเป้าและต่อเนื่อง

อัพเดททุกข่าวสารของแวดวงธุรกิจได้ที่นี่  >>> “พรีมายา” ทำความรู้จักเจ้าของธุรกิจอาหารเสริมพรีมายา ที่กำลังโด่งดังในโลกโซเชียล

“พรีมายา” ทำความรู้จักเจ้าของธุรกิจอาหารเสริมพรีมายา ที่กำลังโด่งดังในโลกโซเชียล

ทำความรู้จัก “พรีมายา” ธุรกิจอาหารเสริมชื่อดังกำลังเป็นกระแสในโลกโซเชียล เน้นการตลาดออนไลน์เป็นหลัก กับรายได้-กำไรที่ไม่ธรรมดา

พรีมายา เป็นหนึ่งในธุรกิจอาหารเสริมชื่อดังที่กำลังได้รับความสนใจจากชาวเน็ตอย่างล้นหลาม โดยเจ้าของพรีมายา ผู้ก่อตั้ง คือ เม พิชญ์นรี ตันติวิทย์ หรือ เม พรีมายา CEO PRIMAYA ที่ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2558 และจดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 ภายใต้ชื่อบริษัท พรีมา มายา จำกัด

เม พรีมายา เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อนิตยสารชื่อดังอย่าง Hello ว่า เธอเกิดและเติบโตที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนโรงเรียนวัดที่มีเด็กเพียง 100 คน ที่บ้านเปิดร้านขายของชำ และทำสวนยางพารา น้ำประปาไม่มีใช้ ถนนเป็นดินลูกรัง แต่ด้วยความขยันช่วยพ่อแม่ทำมาค้าขาย จึงเป็นแรงส่งให้ เม พรีมายา เริ่มธุรกิจสมัยช่วงที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยการขายน้ำอโวคาโด เพื่อเก็บเงินส่วนหนึ่ง ไปสร้างแบรนด์สบู่เป็นของตนเอง

พร้อมกับเจียระไนตนเองให้ดูดีเสมอ ทั้งรูปร่าง หน้าตา จนได้เป็นดาวโรงเรียน เป็นเชียร์ลีดเดอร์ ทำให้มีฐานคนติดตามเยอะ เมื่อไลฟ์ขายสินค้าเลยทำกำไรได้ 30,000 – 40,000 บาท ต่อมาจึงสร้างแบรนด์ MAYA ผลิตลิปสติกและมาสคาร่าที่เมดีลเองกับโรงงานในจีน ยอดขายดีมาก จนสร้างรายได้หลักแสนตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ต่อมาจึงได้ยุติการทำแบรนด์เครื่องสำอาง และหันมาจับธุรกิจเสริมอาหารจึงเป็นที่มาของ พรีมายา จวบจนปัจจุบัน

ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท พรีม่า มายา จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560 โดยมี น.ส.พิชญ์นรี ตันติวิทย์ และ นายสิทธานต์ สรรเสริญ เป็นกรรมการบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ ขายปลีกเครื่องสำอาง ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้

  • ปี 2560 รายได้ 748,021.00 บาท กำไร 610.72 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,920,822.47 บาท กำไร 450,683.04 บาท
  • ปี 2562 รายได้ 8,649,550.78 บาท กำไร 472,200.38 บาท
  • ปี 2563 รายได้ 21,962,998.24 บาท กำไร 1,343,321.39 บาท
  • ปี 2564 รายได้ 33,632,860.48 บาท กำไร 8,041,136.68 บาท

อัพเดทข่าวธุรกิจ แนะนำข่าวเพิ่มเติม >> กลยุทธ์ ‘ลักชัวรี’ พากลุ่มเซ็นทรัลไปไกลระดับโลก

กลยุทธ์ ‘ลักชัวรี’ พากลุ่มเซ็นทรัลไปไกลระดับโลก

กลยุทธ์ ‘ลักชัวรี’ พากลุ่มเซ็นทรัลไปไกลระดับโลก ปีนี้ตั้งเป้ายอดขาย 2.6 แสนล้าน

75 ปี หลังจาก เตียง และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เปิดร้านหนังสือเล็กๆ แห่งแรก จนถึงวันนี้ที่ขยายมาเป็น ‘กลุ่มเซ็นทรัล’ ผู้นำในวงการศูนย์การค้าของไทย ที่กำลังก้าวไปสู่การเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่ระดับโลกแล้ว

‘ทศ จิราธิวัฒน์’ ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า ธุรกิจห้างสรรพสินค้าของกลุ่มเซ็นทรัลได้จารึกความสำเร็จด้วยการมีเครือข่ายห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมถึง 11 ประเทศ 80 เมือง 120 สาขา ตั้งเป้ายอดขายในปีนี้กว่า 6.7 พันล้านยูโร หรือ 2.6 แสนล้านบาท

การรวมกลุ่มเซลฟริดเจสเข้าสู่คอลเลคชั่นห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่ของกลุ่มเซ็นทรัล ทำให้บริษัทของเรากลายเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่ระดับโลกอย่างแท้จริง ด้วยจำนวนของห้างแฟลกชิปหรูในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำที่มากที่สุดในโลก พร้อมทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซลักชัวรี่ระดับแนวหน้า

นอกจากนี้ เรายังภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันโดดเด่นถึง 19 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 1 ศตวรรษ และล้วนตั้งอยู่บนทำเลเด่นใจกลางเมืองสำคัญของยุโรป อาทิ ลอนดอน ซูริค โรม โคเปนเฮเกน ดับลิน และ เวียนนา”

กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ริเริ่มการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครสำหรับลูกค้าตั้งแต่เริ่มกิจการ กลุ่มบริษัทเป็นผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นผู้สร้างห้างสรรพสินค้าชั้นนำที่มีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาคหลายแห่ง

อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจศูนย์การค้าครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย ก้าวแรกที่กลุ่มเซ็นทรัลได้ริเริ่มดำเนินธุรกิจในยุโรป คือการเข้าซื้อกิจการห้างหรู รีนาเชนเต ในประเทศอิตาลี เมื่อปี 2554 ตามด้วยอิลลุม ในปี 2556 กลุ่มคาเดเว ในปี 2558 โกลบุส ในปี 2563 และในปี 2565 ได้เข้าซื้อกิจการของกลุ่มเซลฟริดเจส

“ลักชัวรี่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของกลุ่มเซ็นทรัล เริ่มจากการเข้าซื้อกิจการห้างรีนาเชนเต ซึ่งสอดคล้องกับจังหวะที่แบรนด์ลักชัวรี่ของยุโรปกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยกระแสของการท่องเที่ยวทั่วโลก ถึงแม้เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนในระยะที่ผ่านมา ตลาดลักชัวรี่ได้แสดงศักยภาพสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากความต้องการผู้บริโภคที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

“ในรอบสิบปีที่ผ่านมากลุ่มเซ็นทรัลได้สร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับแบรนด์ลักชัวรี่ยักษ์ใหญ่หลากหลายแบรนด์ ซึ่งได้มีการร่วมลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทตลอดมาเพื่อพัฒนาห้างของเราให้เป็นจุดหมายแห่งการช้อปปิ้งที่โดดเด่น ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของคนท้องถิ่น และเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยือน

“ปัจจุบันห้างในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัลต้อนรับลูกค้ากว่า 130 ล้านคนต่อปี กว่า 200 เชื้อชาติ และมีสมาชิกกว่า 6 ล้านคน ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในธุรกิจลักชัวรี่ของกลุ่มเรา” ทศ จิราธิวัฒน์ กล่าว

ธุรกิจ 12 9 22

สำหรับก้าวต่อไป กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ลักชัวรี่ในสองด้าน คือ

พัฒนาและขยายห้างสรรพสินค้าที่มีเอกลักษณ์ในเมืองท่องเที่ยวสำคัญด้วยการร่วมมือกับลักชัวรี่แบรนด์ ด้วยการร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เช่น LVMH, Kering และ Richemont เพื่อยกระดับและเพิ่มความหลากหลายของสินค้า
เน้นการตกแต่งคุณภาพสูงของห้างและร้านค้า เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้า โดยแต่ละห้างได้ถูกออกแบบให้แสดงถึงเอกลักษณ์ของแต่ละเมือง เพื่อให้คนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวได้ชื่นชม

นอกจากนี้ แต่ละห้างยังมีสินค้าอาหารระดับพรีเมี่ยม และมีร้านอาหารหลากหลายไว้บริการ ซึ่งผู้มาเยือนสามารถสัมผัสความพิเศษเหล่านี้ในโฉมใหม่ของห้างคาเดเว ในเบอร์ลิน ห้างรีนาเชนเตในมิลานและโรม และห้างโกลบุส ในซูริก ที่ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาไปเมื่อไม่นานมานี้

ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในหลายประเทศ รวมถึงการสร้างโครงการใหม่ อีก 3 แห่ง นอกจากนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาโอกาสเพื่อพัฒนาเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทำเลทอง ใจกลางเมืองลอนดอน ที่เซลฟริดเจสแฟลกชิป บนถนนออกซ์ฟอร์ด อีกด้วย

ขึ้นแท่นผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และเป็นพันธมิตรคู่ค้าที่มีเครือข่ายทั่วโลกให้กับแบรนด์ลักชัวรี่และแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ
ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของกลุ่มเซ็นทรัลในยุโรปมียอดจำนวนผู้มาเยือนกว่า 30 ล้านคนต่อเดือน มีการจัดส่งสินค้าไปยังกว่า 130 ประเทศทั่วโลก และสร้างยอดขายได้ถึง 1 พันล้านยูโร (3.8 หมื่นล้านบาท) ต่อปี คิดเป็น 17% ของยอดขายทั้งหมด

ซึ่งยอดขายออนไลน์ในต่างประเทศของ Selfridges.com มีสัดส่วนสูงถึง 40% สะท้อนถึงการมีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับโลกที่แข็งแกร่ง เทียบได้กับคู่แข่งที่ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ

กลุ่มเซ็นทรัลได้วางยุทธศาสตร์ให้ Selfridges.com เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ลักชัวรี่ระดับโลกที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยเน้นใช้จุดแข็ง ดังนี้ 1) แบรนด์เซลฟริดเจส ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักดีทั่วโลก 2) แบรนด์และสินค้า พร้อมคอลเลกชั่นพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ จากทุกห้างสรรพสินค้าชั้นนำในเครือ

3) เทคโนโลยีล้ำสมัย และฐานข้อมูลลูกค้า ที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์ และมอบบริการให้ลูกค้าได้แบบเฉพาะบุคคล 4) เครือข่ายห้างสรรพสินค้าใน 11 ประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์และเข้าถึงลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

รวมถึงให้บริการแบบออมนิแชแนล ที่แตกต่างและเหนือกว่าคู่แข่งอีคอมเมิร์ซทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฐานการดำเนินธุรกิจหลักของกลุ่มเซ็นทรัล ลูกค้าของกลุ่มเซ็นทรัลในประเทศไทยจะสามารถเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ลักชัวรี่และคอลเลกชั่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางนี้ อ่านข่าวธุรกิจอื่นๆ ได้ที่ hownowbaccarat