รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า เมื่อลูกเจ็บป่วย
พ่อแม่มักให้ลูกรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรีย ซึ่งถือเป็นการใช้ยาไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากร่างกายมนุษย์จะมีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ตามระบบอวัยวะต่างๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะปล่อยให้เชื้อแบคทีเรียอื่นเข้ามาแย่งพื้นที่ ดังนั้นการป่วยส่วนใหญ่จึงเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้ามาก่อกวนระบบนิเวศของแบคทีเรียในร่างกาย จึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนภายหลัง
ดังนั้นช่วง 2-3 วันแรกที่ลูกป่วยอยากให้พ่อแม่ให้ยารักษาตามอาการก่อน แต่หากลูกเริ่มมีอาการซึม มีอาการมากขึ้นขอให้พาไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้การให้ยารักษาลูกตามอาการ ผู้ปกครองมักรู้สึกว่าไม่ค่อยได้ผล ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นการให้ยาที่ผิด เนื่องจากยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ลดน้ำมูก แก้หอบ จะออกฤทธิ์และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องให้ยาตอนที่มีอาการ หากยาตัวใดไม่มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร ก็ให้กินยาขณะที่มีอาการและกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ให้ยาตามเวลา เช้า กลางวัน เย็น
อ่านข่าวเพิ่มเติม : วิธีทำความสะอาดสะดือเด็ก สะดือทารกทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกวิธี